ค้นหาทั้งเว็บไซต์

ลืมรหัสผ่าน

อีเมลพร้อมคำแนะนำในการตั้งรหัสผ่านใหม่ของคุณได้ถูกส่งไปยัง
false
หากคุณไม่ได้รับอีเมล โปรดตรวจสอบโฟลเดอร์ขยะ/สแปมของคุณ หรือคลิกปุ่ม "ส่งอีเมลอีกครั้ง" ด้านล่าง
กลับไปที่
ยังไม่มีบัญชีผู้ใช้งานใช่ไหม
ซื้อ ขาย ที่พักอาศัย • both

กฎหมายการถือสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย

14 กันยายน 2020
ชาวต่างชาติสามารถซื้อและถือครองกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ของไทยได้ผ่านโครงสร้างการถือกรรมสิทธิ์ในหลายรูปแบบ ผู้พัฒนาโครงการหลายรายใช้วิธีตั้งโครงสร้างบริษัทเพื่อบริหารจัดการโครงการของพวกเขาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการดำเนินการและรักษากรรมสิทธิ์ให้แก่เจ้าของรายย่อยด้วย
Image | CBRE

การถือกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยของชาวต่างชาติ

 

ชาวต่างชาติสามารถซื้อและถือครองกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ของไทยได้ผ่านโครงสร้างการถือกรรมสิทธิ์ในหลายรูปแบบ ผู้พัฒนาโครงการหลายรายใช้วิธีตั้งโครงสร้างบริษัทเพื่อบริหารจัดการโครงการของพวกเขาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการดำเนินการและรักษากรรมสิทธิ์ให้แก่เจ้าของรายย่อยด้วย

 

โครงสร้างการถือครองกรรมสิทธิ์

 

รูปแบบการถือครองกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกใช้ทั่วไปมีสามแบบคือ การถือกรรมสิทธิ์การเช่าในทรัพย์สินตามระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาเช่า กรรมสิทธิ์การถือครองโดยสมบูรณ์ในคอนโดมิเนียม และกรรมสิทธิ์การถือครองโดยสมบูรณ์ในนามของบริษัทสัญชาติไทย

 

เอกสารสิทธิ์ที่ดิน

 

ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์จำเป็นต้องทราบเกี่ยวกับประเภทและระดับของเอกสารสิทธิ์ที่ดินต่างๆ ในประเทศไทยและต้องมั่นใจว่าโครงการที่พวกเขาต้องการจะซื้อนั้นมีเอกสารสิทธิ์ที่ดินที่เหมาะสมและถูกต้อง พนักงานของซีบีอาร์อี สามารถให้คำปรึกษาแก่ท่านเกี่ยวกับเอกสารสิทธิ์ที่ดินประเภทต่างๆ เช่น โฉนด นส. 3ก สก. 1 และ ภ.บ.ท. 5

 

การยืมเงินทุน

 

ผู้พัฒนาโครงการบางรายอาจเสนอความช่วยเหลือด้านการเงินแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นท่านต้องพึงระวังว่าอัตราดอกเบี้ยต้องเป็นธรรมและการซื้อขายจะต้องเป็นไปในรูปของการโอนกรรมสิทธิ์โดยสมบูรณ์อีกด้วย

 

ซีบีอาร์อี จะช่วยเหลือและให้คำแนะนำท่าน ตั้งแต่การมองหาอสังหาริมทรัพย์ตามความต้องการของท่านไปจนถึงการเซ็นต์ข้อตกลงสัญญาซื้อขายและการโอนเงิน ซีบีอาร์อี ยังจะแนะนำผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายและการตรวจสอบรูปแบบการถือครองกรรมสิทธิ์และเอกสารสิทธิ์แก่ท่านได้ด้วย
    
การถือกรรมสิทธิ์ในคอนโดมิเนียมในประเทศไทยของชาวต่างชาติ

 

ภายใต้พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2534 ชาวต่างชาติที่พำนักอยู่ในประเทศไทยผู้ซึ่งซื้อห้องชุดต้องทำการโอนเงินเพื่อชำระค่าห้องชุดนั้นจากต่างประเทศ และเงินนั้นต้องโอนเข้ามายังประเทศไทยในรูปของเงินตราต่างประเทศด้วย ผู้ซื้อจำเป็นต้องขอรับใบรับรอง “แบบการทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ” ทุกครั้งที่มีการดำเนินธุรกรรมทางการเงินจากธนาคารที่เป็นผู้ดำเนินการ ผู้ซื้อจำเป็นต้องสำแดงใบรับรองทั้งหมดแก่กรมที่ดินเพื่อทำการจดทะเบียนคอนโดมิเนียมนั้นด้วย

 

เมื่อมีการส่งเงินมายังประเทศไทย ผู้ซื้อชาวต่างชาติจำเป็นต้องแจ้งเจตจำนงว่าเป็นการส่งเงินเพื่อซื้อห้องชุดในคอนโดมิเนียมนั้น ๆ

 

นอกจากนี้ ชาวต่างชาติที่มีเงินบาทไทยในบัญชีธนาคารสำหรับบุคคลต่างด้าว หรือเงินตราต่างประเทศในบัญชีธนาคารในประเทศไทยอาจถอนเงินจากบัญชีดังกล่าวเพื่อใช้ชำระค่าห้องในคอนโดมิเนียมได้ ในกรณีนี้จำเป็นจะต้องขอให้ธนาคารออกใบรับรองการถอนเงินเพื่อใช้สำหรับสำแดงที่มาของเงินซึ่งถอนออกมาเพื่อชำระค่าคอนโดมิเนียม โดยเอกสารนี้จำเป็นจะต้องสำแดงแก่กรมที่ดินเช่นกัน

 

ชาวต่างชาติที่มีคู่สมรสเป็นบุคคลสัญชาติไทยที่กำลังจะซื้อคอนโดมิเนียมต้องดำเนินการตามข้อบังคับการถือกรรมสิทธิ์ของชาวต่างชาติร่วมกัน และต้องโอนเงินสำหรับชำระค่าคอนโดมิเนียมมาจากต่างประเทศ

 

ชาวต่างชาติที่ได้สถานะผู้พำนักถาวรในประเทศไทยไม่จำเป็นต้องโอนเงินดังกล่าวมาจากต่างประเทศ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ
Image | CBRE
ปพิณริยา พึ่งเขื่อนขันธ์
หัวหน้าแผนกซื้อขายที่พักอาศัยรายย่อย
แชร์
คัดลอกลิงก์
แชร์ผ่านลิงก์