กรณีศึกษา

การประหยัดพลังงานและการริเริ่มโครงการสีเขียว

การบริหารอาคาร

pm-energy-saving-green-initiative-972x1296

รายละเอียดโครงการ

ลูกค้า: คอนโดมิเนียมแห่งหนึ่งในภูเก็ต
สถานที่: ลายัน ภูเก็ต ประเทศไทย  
สาระสำคัญ: ความคิดริเริ่ม เพื่อช่วยประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่าย และยังเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม

ภาพรวม

ทีมการบริหารจัดการทรัพย์สินซีบีอาร์อีจังหวัดภูเก็ตเสนอทางออกในการประหยัดพลังงงานเพื่อให้กับลูกค้าประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้พลังงานไฟฟ้า โดยการปรับปรุงศักยภาพของระบบเครื่องปรับอากาศ และการใช้พลังงานแสงอาทิตย์

โครงการคอนโดมิเนียมของลูกค้าสร้างขึ้นในปี 2549 ซึ่งในขณะนั้นค่าไฟฟ้าในประเทศไทยราคาค่อนข้างต่ำและการลดภาวะโลกร้อนเป็นแนวคิดที่ไม่ได้รับการยอมรับ ต่อมาจึงได้มีการริเริ่มแนวความคิดมาตราการการประหยัดพลังงานขึ้น

ความท้าทาย

ด้วยความกระตือรือร้นของเจ้าของร่วมหลายท่านในโครงการที่ต้องการจะลดค่าใช้จ่ายและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มันไม่ง่ายเลยที่จะทำการนำเสนอโครงการติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์โดยให้สอดคล้องกับโครงสร้างอาคารและระบบไฟฟ้าเดิม ซึ่งค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขย่อมสูง

กลยุทธ์

พนักงานซีบีอาร์อีในจังหวัดภูเก็ต ได้รับเชิญจากองค์กรเพื่อสิ่งแวดล้อมโดยไม่หวังผลกำไรระดับท้องถิ่น ให้ช่วยจัดเตรียมคู่มือแนวทางโครงการสีเขียวให้กับผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมและโคงการที่พักอาศัย ในการค้นคว้าหาข้อมูลผู้จำหน่ายระบบผลิตพลังงานที่หลากหลายและอุปกรณ์พลังงานแสงอาทิตย์ราคาย่อมเยาเพื่อใช้ให้เหมาะสมกับภูมิอากาศท้องถิ่น เนื่องจากการผลิตพลังงานจากแผงพลังงานแสงอาทิตย์ที่เหมาะสมนั้นขึ้นอยู่กับสภาพอากาศโดยเฉพาะการกระจายและทิศทางของแสงอาทิตย์ ซึ่งการใช้ระบบนี้ในจังหวัดภูเก็ตเองถือว่ามาถูกทาง

อ้างถึงค่าอุณหภูมิสัมประสิทธิ์ Pmax (Pmax Temperature Coefficient) ซึ่งบ่งบอกถึงค่าการสูญเสียพลังงานต่ออุณหภูมิที่เพิ่มแต่ละองศาเซลเซียสนั้น โดยทางผู้จำหน่ายอุปกรณ์นั้นสามารถจัดหาแผงพลังงานแสงอาทิตย์ได้ตามสเป็คที่ต้องการ คือมีค่าอุณภูมิสัมประสิทธ์อยู่ที่ 3.9% และเป็นที่น่าพอใจเมื่อเปรียบเทียบกับค่าโดยเฉลี่ยจากโรงงานอื่น ๆ (0.45 – 0.50%) แผงพลังงานแสงอาทิตย์นี้ประกอบด้วยแผงพลังงานแสงอาทิตย์โพลีคริสตัลลีน (Poly Crystalline) หรือโมโนคริสตัลลีน (Mono Crystalline) แผงโมโนคริสตัลลีนนั้น ประสิทธิภาพในการผลิตพลังงานได้มากกว่าแม้ในวันที่ท้องฟ้าปกคลุมด้วยเมฆหมอก โดยประมาณว่าอาจมากถึง 5-10% ต่อปี โดยเปรียบเทียบจากการใช้แผงพลังงานแสงอาทิตย์ในสภาพอากาศทั่วไปในจังหวัดภูเก็ต ถึงแม้ราคาของแผงโมโนคริสตัลลีนนั้นสูงกว่าแต่ให้จุดคุ้มทุนที่ดีกว่า

ที่ผ่านมานั้นระบบพลังงานแสงอาทิตย์ใช้ได้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างจำกัดเฉพาะที่ใช้ได้กับขนาดพลังงานและการจัดวางแผงเซลล์นั้น ๆ อย่างไรก็ตาม ต่อมาได้มีตัวเปลี่ยนกระแสไฟฟ้าที่สามารถติดตั้งได้กับระบบการจ่ายกำลังไฟฟ้าโดยไม่ต้องมีการแก้สายไฟให้ยุ่งยากเพื่อให้สามารถใช้พลังงานจากแผงพลังงานแสงอาทิตย์ได้อย่างเต็มที่และลดการใช้พลังงานไฟฟ้า

ทางโครงการคอนโดมิเนียมติดตั้งคอนเดนเซอร์หรือคอยล์ร้อนบนพื้นดาดฟ้าของตึกห้องพักแต่ละตึกโดยทิศทางที่ได้รับแสงอาทิตย์ทำให้อุณหภูมิในการทำงานของคอนเดนเซอร์สูงขึ้น ประสิทธิภาพการทำงานของคอนเดนเซอร์จะลดลงอย่างรวดเร็วหากคอนเดนเซอร์เหล่านี้ไม่สามารถระบายความร้อนได้ การติดตั้งแผงพลังงานแสงอาทิตย์นี้จึงเป็นการช่วยกำบังแสงแดดและลดความร้อนเพื่อให้คอนเดนเซอร์เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น

ผลลัพธ์

พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้และสามารถผลิตได้ดีในทุกสภาวะอากาศ จุดคุ้มทุนอยู่ที่ระยะเวลาประมาณ 7 ปี ส่วนอายุของอุปกรณ์อยู่ที่ประมาณ 20 ปี ขึ้นไป หมายความว่าทางโครงการได้ประโยชน์อย่างต่อเนื่องหลังจากพ้นระยะจุดคุ้มทุนแล้วก็ตาม ค่าใช้จ่ายโดยรวมที่ต่ำลงนั้นเพียงพอต่อการดึงความสนใจและเสียงสนับสนุนโครงการจากเจ้าของร่วมอีกหลายท่าน โดยในแต่ละปีจะเห็นปริมาณการใช้ไฟหลวงลดลงอย่างเห็นได้ชัด ในขณะที่ตัวคอนเดนเซอร์เองมีอายุการใช้งานที่นานขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตความเย็น

ลูกค้าจึงให้ความไว้วางใจใช้บริการของซีบีอาร์อีภูเก็ตอย่างต่อเนื่อง ในการให้คำแนะนำกลยุทธ์การประหยัดพลังงานและการริเริ่มการส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงความคิดริเริ่มโครงการกับเก็บน้ำฝนให้กับลูกค้า

โครงการล่าสุด