บทความ | การสร้างความยืดหยุ่น

ข่าวเด่นตลาดอสังหาริมทรัพย์ประจำสัปดาห์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2567

ซีบีอาร์อีได้รวบรวมข่าวอสังหาฯ ที่ไม่ควรพลาดในรอบสัปดาห์ไม่ว่าจะเป็นข่าวตลาดที่พักอาศัย อุตสาหกรรม พื้นที่สำนักงาน-ค้าปลีก โรงแรม ที่ดิน และการลงทุน

01 มีนาคม 2567

PropertyNews-972x1296-th-26102022

ข่าวเด่นตลาดอสังหาริมทรัพย์ ครอบคลุมทั้งตลาดที่พักอาศัยและตลาดอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ ประจำสัปดาห์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2567

เอพี ไทยแลนด์ เขย่าวงการอสังหาฯ ปูพรม 48 โครงการใหม่ 5.8 หมื่นล้าน
กรุงเทพธุรกิจ
กระแสไวรัล! พระราม 2 รถติดทำคนเบื่อไม่อยากไปหัวหินแต่สำหรับค่ายอสังหาฯทำเลโซนพระราม 2-หัวหินยังขายดี! ส่วนหนึ่งมาจากการขยายตัวของเมือง คนที่ต้องการขยายครอบครัว รวมทั้งต้องการมีบ้านหลังที่สองที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯ

ดัชนีความเชื่อมั่นซื้อที่อยู่อาศัยต่ำ กังวลเสี่ยงถูกปฏิเสธสินเชื่อ
ฐานเศรษฐกิจ
ดัชนีความเชื่อมั่นซื้อที่อยู่อาศัยต่ำ กังวลเสี่ยงถูกปฏิเสธสินเชื่อ เป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากปัจจัยลบต่าง ๆ โดยเฉพาะอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ยังคงอยู่ในระดับ 2.50% -ไม่มีนโยบายผ่อนปรนมาตรการ LTV -หนี้สินครัวเรือนที่สูงเกินกว่า 90% ของ GDP

อสังหาเหงา เปิดใหม่วูบ-รอลดดอกเบี้ย คอนโดหรูไซซ์ใหญ่ฮอต ต่างชาติช้อปบ้านหลัง 2
มติชน
น.ส.รุ่งรัตน์ วีระภาคย์การุณ กรรมการผู้จัดการ ซีบีอาร์อี ประเทศไทย เปิดเผยว่า แนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2567 จากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นในช่วงต้นปีการซื้อขายจะค่อนข้างเงียบ มีแนวโน้มจะคึกคักมากขึ้นในครึ่งหลังของปี และอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น จีดีพีที่อ่อนแอเป็นปัจจัยลบต่อภาคที่อยู่อาศัย

แสนสิริ ทุบสถิติใหม่ กำไร 6,060 ล้าน ขยายพอร์ตลักชัวรี รุกหัวเมืองท่องเที่ยว
ฐานเศรษฐกิจ
แสนสิริ (SIRI) ทำกำไรสุทธิปี 66 สูงสุดในรอบ 40 ปี อยู่ที่ 6,060 ล้านบาท โต 42% และเติบโตสุงสุดในอุตสาหกรรมอสังหาฯ เพื่ออยู่อาศัย จากความแข็งแกร่งของแบรนด์แสนสิริและครองยอดขายเบอร์หนึ่งผู้นำอสังหาฯ ลักชัวรี

ttb analytics มองตลาดที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ และปริมณฑลเผชิญภาวะตลาดที่ไม่สมดุล
ทีทีบี
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประเมินปี 2567 ตลาดที่อยู่อาศัยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลหดตัว 7.8% บนแรงกดดันที่มาพร้อมกันทั้งฝั่งอุปสงค์และอุปทาน ส่งผลต่อโมเมนตัมตลาดที่อยู่อาศัยที่คาดชะลอตัวในระยะยาว

เอฟเฟกต์! เศรษฐกิจไม่ดี-ดอกเบี้ยแพง คนเปลี่ยนเช่ามากกว่าซื้อบ้าน
กรุงเทพธุรกิจ
ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย DDproperty Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุดของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) พบว่าภาพรวมความเชื่อมั่นด้านอสังหาริมทรัพย์ของผู้บริโภคชาวไทยมีทิศทางลดลงในทุกด้าน โดยดัชนีความเชื่อมั่นด้านอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 48% จากเดิม 50% ในรอบก่อนหน้า

อสังหาฯ ไม่ไว้ใจเศรษฐกิจปีมังกร 10 บริษัทลงทุนใหม่เหลือ 3.1 แสนล้าน
ประชาชาติธุรกิจ
ไม่ไว้ใจเศรษฐกิจปี 2567 คำกล่าวนี้ดูเหมือนจะเป็นธีมการทำธุรกิจถ้วนหน้าของวงการอสังหาริมทรัพย์ ประเมินจากการประกาศแผนลงทุนพัฒนาโครงการใหม่ หรือ Project Launch

รถไฟไฮสปีดกระทบเชื่อมั่น แลนด์ลอร์ด EEC เคว้ง ปักป้ายขายที่ดิน
ประชาชาติธุรกิจ
แลนด์ลอร์ดอสังหาฯตามแนวรถไฟไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบินอ่วม หลังเมกะโปรเจ็กต์ไม่ถึงฝั่งฝัน กระทบเชื่อมั่นลงทุนโครงการใหม่ในโซน EEC และพื้นที่สนามบินอู่ตะเภา เผยที่ดินรอบสถานีศรีราชาราคาลดวูบ สถานีสุวินทวงศ์ฉะเชิงเทราแห่ปักป้ายขายที่ดินเพียบ ที่ดินอำเภอบ้านฉางดิ่งเกินคาด ส่วนดีเวลอปเปอร์ “ออริจิ้น” แจงเน้นลูกค้านิคมอุตสาหกรรมเป็นหลัก รายใหญ่ไม่กระทบ หวั่นรายเล็กท้องถิ่นต้องเร่งปรับตัว

ซีบีอาร์อี ประเทศไทย เคาะเทรนด์อสังหาริมทรัพย์ เปิดตัวเลขแนวโน้มปี 2567
ซีบีอาร์อี
ประเทศไทยเริ่มต้นปี 2567 ด้วยทิศทางด้านเศรษฐกิจและอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องอาศัยความรอบคอบ โดย ซีบีอาร์อี ประเทศไทย ที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำระดับโลก ได้เผยถึงเทรนด์สำคัญที่น่าจับตามองในตลาดที่พักอาศัย ตลาดอาคารสำนักงาน ตลาดพื้นที่ค้าปลีก ตลาดพื้นที่อุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ และตลาดโรงแรมของไทย

เมินผ่อนผัน เกณฑ์ LTV-ลดดอกเบี้ย ทุบตลาดอสังหาฯอ่วม
ฐานเศรษฐกิจ
ตลาดอสังหาฯ อ่วม เผชิญปัจจัยเสี่ยงรอบทิศ แบงก์ชาติเมินข้อเสนอ ปลดล็อค LTV-ลดดอกเบี้ย นโยบาย ด้าน 3 สมาคม-เอกชนกระทุ้งต่อ “พรนริศ” ชี้บ้านต่ำ 3 ล้านปฏิเสธสินเชื่อพุ่งลามไปถึง 5 ล้าน กู้ไม่ได้โอนไม่ได้

วิกฤติอสังหาฯ กำลังซื้อหด-ประชากรลด ถึงเวลาหยุดวาทกรรม"ขายชาติ"?
กรุงเทพธุรกิจ
จากภาพรวมปี 66 หน่วยโอนคอนโดต่างชาติมีจำนวน 1.4 หมื่นหน่วยคิดเป็นมูลค่า 7.3 หมื่นล้านสวนทางกับดีมานด์ในประเทศ"หดตัว"จากกำลังซื้อที่ถดถอยและจำนวนประชากร"ลดลง"ก่อเกิดวิกฤติอสังหาฯ ไทยในอนาคต ดีเวลลอปเปอร์ชงเปิดให้ต่างชาติเข้ามาซื้อถูกกฏหมายมากขึ้น