กรณีศึกษา

บริษัทยานยนต์ระหว่างประเทศ

พื้นที่อุตสาหกรรม

ind-international-automobile-company-972x1296

รายละเอียดโครงการ

ลูกค้า: บริษัทยานยนต์ระหว่างประเทศ
สถานที่: กรุงเทพฯ ประเทศไทย
สาระสำคัญ: เจรจาต่อรองลดค่าเช่า 25% จากข้อเสนอค่าเช่าเบื้องต้น

ที่มา

เราได้รับการร้องขอจากบริษัทยานยนต์ระหว่างประเทศแห่งหนึ่งให้ดำเนินการเรื่องเอกสารเชิญชวนยื่นข้อเสนอ (RFP) เพื่อจัดหาอาคารสถานที่สองแห่ง สำหรับใช้เป็นสถานที่ฝึกอบรมและเป็นศูนย์กระจายอะไหล่ ทั้งสองโครงการเป็นการเช่า ไม่ใช่การซื้อ สถานที่สองแห่งนี้ไม่ต้องอยู่ด้วยกัน และมีขนาด ที่ตั้ง และความต้องการใช้งานแตกต่างกัน เราได้ทำการค้นหาสถานที่ที่มีอยู่แล้วในตลาด หรือสถานที่ที่สามารถสร้างขึ้นใหม่ตามความต้องการลูกค้า ด้วยคุณลักษณะ ที่ตั้ง และการใช้งานอาคารที่ต้องการ เราพบว่าการสร้างใหม่ตามความต้องการลูกค้าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า

ประเด็นหลักที่ต้องพิจารณา

  • ข้อกำหนดการแบ่งเขตทำให้ได้ที่ตั้งห่างจากจุดที่ต้องการ
  • ความจำเป็นในการดำเนินการอย่างโปร่งใสและครอบคลุม 100% กับเจ้าของที่ดินเป้าหมายทุกราย
  • ด้วยการเติบโตอย่างรวดเร็วของธุรกิจของลูกค้า ความต้องการเรื่องขนาดจึงเพิ่มขึ้นในช่วงหลังของกระบวนการ
  • ลูกค้าต้องการความมั่นคงตลอดระยะเวลาการครอบครองด้วยข้อตกลงทางการค้าที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ซีบีอาร์อีสร้างข้อได้เปรียบอย่างไร

  • ติดต่อผู้พัฒนาโครงการที่ได้รับการยอมรับเป็นอย่ามาก จำนวนไม่เกิน 25 ราย ให้ยื่นข้อเสนอสำหรับโครงการ
  • โฆษณาผ่านสื่อต่าง ๆ เพื่อให้ครอบคลุมตลาด
  • คงสภาพการแข่งขันระหว่างผู้ประมูลไว้จนจบเพื่อผลักดันให้เกิดการเจรจาต่อรองทางการค้าของเรา
  • สัญญาการสร้างตามความต้องการลูกค้ามีการลงนามเพื่อส่งมอบอาคารสถานที่

ผลลัพธ์

การเจรจาต่อรองของซีบีอาร์อีเรื่องข้อตกลงทางการค้าสุดท้ายช่วยลดค่าเช่าลง 25% จากข้อเสนอค่าเช่าเบื้องต้น

โครงการล่าสุด